แนะนำศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ราชบุรี
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี เป็นหนึ่งในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นศูนย์กลางของแพทยศาสตร์ศึกษาในภาคตะวันตก โดยเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย มหิดล และภายในการกำกับดูแลของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาว ชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของศูนย์แพทย์ฯ ราชบุรี
1. การศึกษาระดับเตรียมแพทย์ได้แก่การศึกษาในชั้นปีที่ 1 จะศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา
2. การศึกษาระดับปรีคลินิก ได้แก่การศึกษาในชั้นปีที่ 2-3 จะศึกษาที่คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
3. การศึกษาระดับคลินิก ได้แก่การศึกษาในชั้นปีที่ 4 - 6 จะศึกษาและฝึกงานที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชบุรี โดยการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล กำกับดูแลในเรื่องหลักสูตร การพัฒนาอาจารย์ และการประเมินผล ร่วมกับแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
ภารกิจ
1. เพิ่มการผลิตแพทย์และให้มีการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท โดยเฉพาะในเขต ภาคกลางมากยิ่งขึ้น
2. เพิ่มโอกาสแก่นักเรียนในชนบทให้ได้ศึกษาวิชาแพทย์
3. พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย
4. พัฒนาคุณภาพระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์และสถาบันสมทบ
เป้าหมาย
1. เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลและโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข
2. มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในฐานะแพทย์ของชุมชนและบทบาทอื่นๆ เช่น แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์นักวิชาการ นักวิจัยทางการแพทย์ ฯลฯ
3. มีพื้นฐานเหมาะสมที่สามารถจะศึกษาต่อระดับหลังปริญญาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ
4. ความมุ่งมั่นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. สามารถคงอยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
การรับนักศึกษาแพทย์
1. รับนิสิตนักศึกษาต่อปี จำนวน 32 คน
2. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข โดยรับนักศึกษาจากจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 5 ครอบคลุมจังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, กาญจนบุรี, และสุพรรณบุรี (ปัจจุบันได้ยกเว้นจังหวัดที่เป็นปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร)
3. จำนวนนิสิตนักศึกษารวมทุกชั้นปี จำนวน 192 คน (6 ชั้นปี ปีละ 32 คน)
4. การคัดเลือกนักศึกษาใช้เกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคัดเลือกร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล